วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบติดตามรถยนต์

ระบบติดตามรถยนต์ GPS
GPS แยกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่


ระบบ Tracking และ Navigator
ประเภทแรกระบบ Tracking
คือ ระบบติดตามยานพาหนะแบบปัจจุบัน (Real time)ผู้ใช้จะสามารถ Monitor,Control ,และสร้างเงื่อนไขการขนส่งได้ด้วยตัวเอง เช่น การตั้งค่าข้อกำหนดให้กับผู้ขับขี่ การกำหนดเส้นทาง การคำนวนระยะทาง การหาเส้นทาง
รวมถึงการตรวจสอบข้อละเมิดต่าง ๆ เช่น ตั้งค่าจำกัดความเร็ว,การจอดติดเครื่องเป็นเวลานาน ,การเร่ง-เบรกกระทันหัน
การขับขี่เป็นเวลานาน, รอบเครื่องเกิน ฯลฯ เป็นต้น

อุปกรณ์ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ
ก) Hardware คือ ตัวกล่องดำ หรือ เครื่องรับ-ส่งข้อมูลไปยังเครื่องแม่ข่าย( Server) และยังประกอบไปด้วยเสา GPS เป็นตัวรับระบุตำแหน่ง, เสา GSM เป็นตัวส่งข้อมูลทั้งหมดผ่านเครือข่ายผู้ให้บริการระบบโทรศัทพ์ เช่น DTAC, AIS เป็นต้น และสุดท้ายที่ขาดไม่ได้ Sim การ์ด

ข) Software หรือ โปรแกรมที่ผู้ให้บริการออกแบบ ให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามยานพาหนะของท่าน ปัจจุบันมีอยู่ 2 ระบบด้วยกัน คือ ระบบ Web bass และ Client
(สำหรับระบบนี้จะเหมาะสำหรับธุรกิจประเภท การขนส่ง)

หลักเกณฑ์การเลือกใช้งาน “ระบบติดตามรถด้วย GPS”

หลักเกณฑ์การเลือกการใช้งานระบบติดตามรถด้วย GPS หรือที่ส่วนใหญ่แล้วผู้ประกอบการมักเรียกสั้นๆ ว่า “GPS ติดรถ” นั้น มีหลักเกณฑ์ในการเลือกการใช้บริการอย่างไร เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าบริษัทที่อยู่ในธุรกิจนี้ในประเทศไทยมีมากกว่า 50 บริษัท แล้วผู้ประกอบการจะเลือกใช้งานได้อย่างไรโดยไม่ถูกหลอก ไม่สูญเงินลงทุนโดยเปล่าประโยชน์ หรือถูกเอาเปรียบจากบริษัทผู้ให้บริการ เอกสารฉบับนี้ จะอธิบายถึงเกณฑ์ในการเลือกการใช้บริการโดยสังเขป

เกณฑ์ในการเลือกการใช้งานนั้น ประกอบด้วย 3 หัวข้อใหญ่ๆ คือ

1. บริษัทผู้ให้บริการ

2. ระบบการให้บริการ และเครือข่าย

3. ฟังก์ชั่นการใช้งาน และรายงานสำหรับผู้ประกอบการ

โดยมีรายละเอียดหลักเกณฑ์และข้อควรสังเกตของแต่ละหัวข้อดังต่อไปนี้

1. บริษัทผู้ให้บริการ

ในส่วนของบริษัทผู้ให้บริการนั้น ถือเป็นปัจจัยหลักอันดับแรกในการเลือกการใช้งาน เนื่องจากการใช้งานระบบดังกล่าว เมื่อตัดสินใจเลือกใช้งานแล้ว ต้องมีการลงทุนในส่วนของชุดอุปกรณ์เพื่อติดตั้งในรถยนต์ และอุปกรณ์ดังกล่าวจะต้องใช้งานไม่น้อยกว่า 3 – 5 ปี ถือเป็นการลงทุนเป็นเงินก้อนใหญ่ ผู้ประกอบการต้องพิจารณาเกณฑ์ต่างๆ ดังนี้

o ความมั่นคงของบริษัท
อย่างที่ทราบกันดี ความมั่นคงของผู้ให้บริการในธุรกิจดังกล่าว มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการลงทุนเกี่ยวกับอุปกรณ์ดังกล่าวนั้น ถือเป็นเงินก้อนใหญ่ หากบริษัทผู้ให้บริการไม่มีความมั่นคง และเกิดหยุดการให้บริการ หรือปิดบริษัทไปแล้ว ถือว่าผู้ประกอบการจะสูญเงินลงทุนไปโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องพิจารณาถึง
 ทุนจดทะเบียนของกิจการ
 กลุ่มผู้ถือหุ้นของกิจการ
 การสนับสนุนทางด้านเงินทุน

o ความเชี่ยวชาญในธุรกิจ และการให้บริการ
ความเชี่ยวชาญ และความชำนาญของบริษัทผู้ให้บริการ ถือเป็นปัจจัยหลักสำคัญอีกประการในการพิจารณาใช้งาน เนื่องจากหลายๆ บริษัทผู้ให้บริการ ไม่ได้ทำธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจหลัก เป็นเพียงธุรกิจเสริม ขาดทักษะ ความรู้ ความชำนาญ และความเชี่ยวชาญในการประกอบธุรกิจดังกล่าว บางราย ก็ดำเนินธุรกิจตามกระแสความต้องการ ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องพิจารณาถึง
 จำนวนปีที่ดำเนินธุรกิจดังกล่าว
 ประเภทของกิจการ และลักษณะของกิจการ
 เทคโนโลยี และการสนับสนุนทางเทคโนโลยี

o ฐานลูกค้าผู้ใช้งานในปัจจุบัน
กลุ่มลูกค้าผู้ใช้งานของบริษัทผู้ให้บริการในปัจจุบัน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องพิจารณา เนื่องจากองค์กรขนาดใหญ่ ทั้งหน่วยงานรัฐ และเอกชน ซึ่งเป็นที่เชื่อถือ และมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักกันดี ย่อมต้องมีการพิจารณาบริษัทผู้ให้บริการอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกการใช้งาน ถือเป็นการกรองในลำดับขั้นหนึ่งแล้ว ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องพิจารณาถึง
 ขอทราบชื่อผู้ใช้บริการรายสำคัญๆ (Site reference)
 ระยะเวลาในการใช้งานของผู้ใช้บริการแต่ละรายที่ได้รับ
 ชื่อ และหมายเลขติดต่อผู้ใช้บริการแต่ละรายที่ได้รับ เพื่อสามารถยืนยันข้อเท็จจริงในภายหลัง

o ความพร้อมในการให้บริการหลังการขาย
เนื่องจากการให้บริการนี้ เป็นธุรกิจการให้บริการโดยเฉพาะ และเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ตลอดจนการใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งความพร้อมในการให้บริการหลังการขายจึงมีความสำคัญ และมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องพิจารณาถึง
 มีศูนย์บริการลูกค้าหรือไม่
 ศูนย์บริการลูกค้าให้บริการในวันและเวลาใด
 เมื่อเกิดปัญหาจากการใช้งานแล้ว ทางบริษัทผู้ให้บริการ ดำเนินการแก้ปัญหาอย่างไร ด้วยวิธีใด


การเลือกใช้งาน “ระบบติดตามรถด้วย GPS”
o การสนับสนุน หรือการช่วยเหลือผู้ประกอบการ
ปัจจัยหลักอีกหนึ่งปัจจัยสำหรับหัวข้อนี้ คือ การสนับสนุน หรือการช่วยเหลือผู้ประกอบการจากบริษัทผู้ให้บริการ เป็นที่ทราบกันดีว่า การลงทุนในระบบดังกล่าวต้องมีการใช้วงเงินลงทุนในระดับหนึ่ง บริษัทผู้ให้บริการใดที่สามารถให้การสนับสนุน หรือการช่วยเหลือผู้ประกอบการในการลงทุนดังกล่าวได้นั้น ถือเป็นปัจจัยอีกประการที่ต้องพิจารณา


2. ระบบ และรูปแบบการให้บริการ

ระบบ และรูปแบบการให้บริการ ถือเป็นหลักเกณฑ์หลักอีกประการในการเลือกใช้งาน เนื่องจากปัจจุบัน บริษัทผู้ให้บริการนั้น มีจำนวนมาก และหลากหลายรูปแบบการให้บริการ อาทิ การให้บริการ Online, Offline, รูปแบบแผนที่ต่างๆ การใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตลอดจนชุดอุปกรณ์ที่ใช้งาน ก็มีการหลากหลายแหล่งผลิต และแหล่งที่มา ผู้ประกอบการต้องพิจารณาเกณฑ์ต่างๆ ดังนี้

o ภาพรวมของระบบ และลักษณะการทำงานของระบบ
ผู้ประกอบการต้องทราบถึงภาพรวมการทำงานของระบบ ตลอดจนลักษณะการทำงานของระบบที่บริษัทผู้ให้บริการออกแบบและให้บริการ เพราะการออกแบบระบบถือเป็นหัวใจสำคัญ เนื่องจากภาพรวมของระบบเกี่ยวข้องกับการจัดการการส่งข้อมูลจากรถ ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลของผู้ประกอบการโดยตรง และผู้ประกอบการเข้าใช้งานระบบโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบันระบบต่างๆ เป็นรูปแบบของการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบ GPS ติดรถ ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องพิจารณาถึง
 สถานที่ติดตั้งเครื่องแม่ข่าย (Server) ของบริษัทผู้ให้บริการ
 ระบบรักษาความปลอดภัยของสถานที่ติดตั้งเครื่องแม่ข่าย
 ระบบสำรองในกรณีระบบหลักขัดข้อง หรือไม่สามารถปฏิบัติการได้
 ระบบการสำรองข้อมูลในกรณีหน่วยความจำหลักของระบบขัดข้อง (Hard Disk)
 ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้บริการ
 การจัดเก็บข้อมูลย้อนหลัง




o ลักษณะของโปรแกรมที่ใช้งาน
ลักษณะของโปรแกรมที่ใช้งานระบบ มีสองรูปแบบคือ การติดตั้งโปรแกรมลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของผู้ประกอบการ หรือที่เรียกว่า Web application program และการใช้งานโปรแกรมผ่าน Web browser (Internet Explorer เป็นต้น) หรือที่เรียกว่า Web-based program ซึ่งการใช้งานในรูปแบบผ่าน Web browser นั้น ถือเป็นมาตรฐานใหม่ของการให้บริการต่างๆ ในปัจจุบัน เนื่องจากผู้ประกอบการจะไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นในการที่จะต้องติดตั้งโปรแกรมใหม่ เมื่อโปรแกรมเดิมเกิดความเสียหาย ไม่มีการเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์โปรแกรม และแผนที่ ตลอดจนเมื่อมีการปรับปรุงโปรแกรม (Up version) หรือปรับปรุงแผนที่ ผู้ประกอบการไม่ต้องดำเนินการใดๆ หรือไม่ต้องรอบริษัทผู้ให้บริการมาดำเนินการได้ ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องเป็นอย่างมาก

o รูปแบบการให้บริการ
การให้บริการปัจจุบันมีสองรูปแบบ คือให้บริการแบบ Online และให้บริการแบบ Offline การให้บริการแบบ Offline ปัจจุบันจะลดลง และเหลือน้อยลงในที่สุด เนื่องจากความล่าช้าของการรับรู้ข้อมูลของผู้ประกอบการ ค่าใช้จ่ายโดยรวมแทบไม่มีความแตกต่างระหว่างทั้งสองแบบ ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างการใช้บริการทั้งสองอย่างมีปัจจัยหลักๆ ที่ผู้ประกอบการต้องพิจารณาดังนี้
 Online สามารถตรวจสอบสถานะ ตำแหน่ง และข้อมูลของรถ และสินค้าที่บรรทุกได้ทันที โดยเฉพาะในกรณีเกิดการฝ่าฝืนใดๆ หรือเกิดเหตุฉุกเฉิน ส่วน Offline ข้อมูลไม่ทันสถานการณ์ เมื่อมีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างการขนส่ง ผู้ประกอบการจะไม่สามารถทราบได้เลย จนกว่ารถจะกลับเข้ามาถ่ายโอนข้อมูล
 Offline มีค่าใช้จ่ายในส่วนของอุปกรณ์รับข้อมูลที่มีราคาสูง และเสียหายง่ายจากการเฉี่ยวชนของรถ

o รูปแบบแผนที่
แผนที่สำหรับระบบ GPS ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบมาก ไม่ว่าจะเป็นแผนที่ลายเส้น แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม หรือผสมกันทั้งสองรูปแบบ แผนที่ทั้งสองรูปแบบมีข้อดี และข้อเด่นแตกต่างกันไป แผนที่ลายเส้นนั้น สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว เห็นภาพชัด และมีความคุ้นเคยในการใช้งาน เนื่องจากเป็นแผนที่ลักษณะเดียวกับแผนที่ทั่วๆ ไปที่ใช้งานกัน มีการปรับปรุงข้อมูลอยู่ตลอดเวลา

o รูปแบบแผนที่ (ต่อ)
ส่วนแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมเก่า 3 – 4 ปีขึ้นไป ซึ่งสภาพพื้นที่ในปัจจุบันอาจเปลี่ยนแปลงไปแล้ว การอ่านแผนที่ทำได้ลำบาก การทำงานของแผนที่มีความล่าช้าอยู่พอสมควรเนื่องจากเป็นการโหลดรูปภาพ และแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมไม่สามารถซูมลงไปถึงระดับที่ต้องการได้ด้วยข้อจำกัดหลายประการเกี่ยวกับความละเอียดภาพ ตลอดจนเมื่อผู้ใช้มีการใช้งานเป็นระยะเวลาหนึ่ง จะเกิดอาการเมื่อยล้าของสายตา

o ลิขสิทธิ์แผนที่
การให้บริการระบบของบริษัทผู้ให้บริการมีแผนที่ที่ให้บริการอยู่สามรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีข้อแตกต่างกันไป คือ
 มีทีมงานพัฒนาแผนที่ของตนเอง เป็นลิขสิทธิ์ของตนเอง
บริษัทผู้ให้บริการมีทีมงานในการพัฒนาแผนที่ของตนเอง การจัดทำแผนที่ไม่สามารถเทียบได้กับบริษัทผู้พัฒนาแผนที่โดยตรง เนื่องจากขาดความชำนาญในการดำเนินการ การปรับปรุงข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นถนนตัดใหม่ หรือ POI (Point of Interest) มีความล่าช้า เนื่องจากการจัดทำแผนที่ต้องใช้งบประมาณในส่วนของการสำรวจอย่างมหาศาล ทำให้ไม่สามารถพัฒนาได้ทันต่อข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง
 ใช้แผนที่ของบริษัทผู้พัฒนาแผนที่ โดยตรง เป็นลิขสิทธิ์ของผู้พัฒนา แต่บริษัทผู้ให้บริการซื้อสิทธิการใช้งาน (จ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้)
บริษัทผู้ให้บริการเลือกใช้แผนที่ของผู้พัฒนาแผนที่ มีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง การปรับปรุงข้อมูลต่างๆ มีความรวดเร็วเนื่องจาก ผู้พัฒนาแผนที่ดำเนินธุรกิจดังกล่าวโดยตรง ทำให้สามารถใช้งบประมาณในการสำรวจและพัฒนาได้อย่างเต็มที่
 ใช้แผนที่ของ Google ลิขสิทธิ์เป็นของ Google
บริษัทผู้ให้บริการที่ไร้ความรับผิดชอบบางราย นำแผนที่ของ Google มาให้บริการ เนื่องจากปัจจุบัน Google เปิดให้ใช้บริการฟรี แต่ในอนาคตทาง Google จะมีการเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์การใช้งานในเชิงพาณิชย์ จากการสำรวจอัตราค่าลิขสิทธิ์ที่ทาง Google เรียกเก็บในสหรัฐอเมริกา, ยุโรป, ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐประชาชนจีน เฉลี่ยอยู่ที่ลิขสิทธิ์ละ 4 ล้านบาท ต่อ ปี (ปัจจุบัน Google เรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์การใช้งานแล้วในประเทศ และภูมิภาคข้างต้น ส่วนในประเทศไทยตามแผนจะมีการเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์ภายในปี 2009)

o ชุดอุปกรณ์
ชุดอุปกรณ์ระบบ หรือตัวกล่องเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ ต้องคำนึงถึงโดยเฉพาะค่าความเสถียรของกล่อง ที่จะมีผลต่อการทำงานของระบบ ตลอดจนมาตรฐานของอุปกรณ์ที่ต้องคำนึงถึง เนื่องจากในปัจจุบันบริษัทผู้ให้บริการมีทั้งการสั่งผลิตในประเทศ การนำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ สาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน เกาหลี และญี่ปุ่น เป็นต้น ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องพิจารณาถึง
 มาตรฐานการผลิต ทั้งในแง่ของโรงงาน และแหล่งผลิต
 ค่าความเสถียรของชุดอุปกรณ์จากการทดสอบที่ได้มาตรฐาน หรือได้รับการรับรอง (การได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO ไม่ได้หมายความว่าชุดอุปกรณ์นั้นๆ จะต้องได้มาตรฐาน และมีค่าความเสถียรสูงแต่ประการใด)
 จำนวนการใช้งานของชุดอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งและใช้งานจริงไปแล้ว
 ความสามารถในการปรับปรุงรุ่นของชุดควบคุมทางอากาศ (Firmware upgrade over the air : OTA technology)


3. ฟังก์ชั่นการใช้งาน และรายงานสำหรับผู้ประกอบการ

เกณฑ์สุดท้ายที่ใช้ประกอบการพิจารณาเลือกบริษัทผู้ให้บริการคือฟังก์ชั่นการใช้งาน และรายงานสำหรับผู้ประกอบการ โดยภาพรวมแล้วฟังก์ชั่นการใช้งาน จะเน้นไปที่ “ผู้ใช้” เป็นประการสำคัญ แต่การใช้งานระบบนั้น สุดท้าย ความสำคัญจะอยู่ที่รายงาน ซึ่งรายงานที่ดี จะต้องเป็นรายงานที่ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ได้จริง โดยไม่ต้องทำการแปลงข้อมูลใดๆ หรือหากมี ก็น้อยมาก และรายงานต่างๆ นั้น สามารถนำไปวิเคราะห์ หรือประยุกต์ใช้ กับส่วนหรือหน่วยงานอื่นๆ ภายในองค์กรของผู้ประกอบการได้ทันที
ประการสำคัญ หลายๆ บริษัทผู้ให้บริการนั้น มักจะเน้น รูปแบบ และหน้าตาของรายงาน ตลอดจนรายงานจำนวนมาก แต่ไม่สามารถใช้งานได้จริง หรือใช้งานได้บ้างเพียงบางส่วน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นข้อควรคำนึงและควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการต้องพิจารณาเกณฑ์ต่างๆ ดังนี้


o การให้น้ำหนัก และความสำคัญระหว่าง การใช้งาน กับรายงาน (หรือระหว่างผู้ใช้ กับผู้บริหาร)
ระบบติดตามรถด้วย GPS ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปในปัจจุบัน มีพื้นฐานการออกแบบมาจากความต้องการในการบริหาร และจัดการการขนส่ง ตลอดจนติดตามตำแหน่งรถยนต์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการเลือกใช้งานระบบนั้น จะมีสองปัจจัยหลัก ระหว่าง การใช้งาน (ความยากง่ายในการใช้งาน และหน้าตาของโปรแกรม) กับ รายงาน (ลักษณะของรายงาน ตลอดจนความสามารถนำไปใช้ของรายงาน) ซึ่งสองส่วนดังกล่าว ในส่วนแรก เกี่ยวข้องกับผู้ใช้โดยตรง (User) และในส่วนหลัง เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เกี่ยวข้องกับผู้บริหาร (Fleet Manager or Management) ที่จะนำข้อมูลต่างๆ ไปทำการประมวลผลต่อ
โดยส่วนใหญ่บริษัทผู้ให้บริการมักมีการออกแบบการใช้งานที่ง่าย ซึ่งเป็นผลดีกับผู้ประกอบการเอง แต่บางบริษัทผู้ให้บริการ มักเน้นเพียงการออกแบบการใช้งาน แต่ขาดการลงรายละเอียดในส่วนที่ผู้บริหารมีความจำเป็นต้องทราบ หรือต้องใช้งาน ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องพิจารณาในภาพรวมของความสามารถของโปรแกรม/ระบบ และความต้องการของผู้ประกอบการเอง

o รูปแบบ และลักษณะรายงาน
โดยทั่วไปรูปแบบ และลักษณะรายงานของบริษัทผู้ให้บริการจะดูเหมือนมีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่รายละเอียดจะมีความแตกต่าง บริษัทผู้ให้บริการหลายราย มีรูปแบบ และลักษณะของรายงานให้ผู้ประกอบการเลือกใช้มากมายเป็นร้อยรูปแบบ แต่ไม่สามารถนำไปใช้งานได้จริง ก่อให้เกิดความสับสนกับการใช้งานระบบเป็นอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการจำต้องคำนึงถึงข้อนี้เป็นประการสำคัญ

o ความแม่นยำของข้อมูลในรายงาน
ความแม่นยำของข้อมูลขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ หากข้อมูลไม่แม่นยำ หรือไม่ถูกต้อง ก็ทำให้รายงานที่ผู้ประกอบการได้รับนั้น ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ แต่อย่างใด บริษัทผู้ให้บริการโดยส่วนใหญ่มักจะใช้ค่า “ประมาณการ” ที่ได้รับจากดาวเทียม GPS เช่น ระยะทางการขับขี่ ความเร็วของรถยนต์ อัตรารอบเครื่องยนต์ เป็นต้น แต่ก็มีบริษัทผู้ให้บริการอีกหลายราย ที่เลือกที่จะใช้ข้อมูลต่างๆ โดยตรงจากรถยนต์ ซึ่งแน่นอนว่า ต้นทุนของอุปกรณ์ย่อมมีราคาสูงกว่า อุปกรณ์ที่ใช้ค่า “ประมาณการ” จากดาวเทียม GPS ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องพิจารณาถึง


o ความแม่นยำของข้อมูลในรายงาน (ต่อ)
 การจัดเก็บค่าต่างๆ ที่นำมาประมวลผลเป็นรายงาน ว่าใช้ค่า “ประมาณการ” จากดาวเทียม GPS หรือใช้ค่าที่เก็บตรงจากรถยนต์
 รูปแบบการวัดระยะทางในการขับขี่ ว่าใช้รูปแบบใด ข้อนี้ผู้ประกอบการพึงระวัง เนื่องจากบริษัทผู้ให้บริการบางราย จัดเก็บข้อมูลต่างๆ จากรถยนต์โดยตรง ยกเว้น การวัดระยะทางในการขับขี่ ที่ใช้ค่าจากดาวเทียม GPS

o การนำข้อมูลในรายงานไปประยุกต์ใช้ หรือต่อยอดการใช้ข้อมูล
ความสามารถในการนำข้อมูลจากรายงานไปประยุกต์ใช้ หรือทำการต่อยอดไปยังส่วนงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ฝ่ายบุคคล ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายยานพาหนะ ฝ่ายจัดส่ง/คลังสินค้า ฝ่ายผลิต เป็นต้น ต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบรายงาน ความถูกต้องแม่นยำของรายงาน จะเป็นส่วนที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำรายงาน และข้อมูลจากรายงานนั้นไปประยุกต์ใช้ได้ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนงานล่วงหน้า และสามารถเพิ่มผลิตผลของผู้ประกอบการได้เป็นอย่างมาก ตัวอย่างแนวทางการนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ หรือต่อยอดการใช้ข้อมูล มีดังนี้
 ฝ่ายบุคคล นำข้อมูลไปทำการประเมินผลการทำงาน และวัดค่า
ประสิทธิผลการทำงานของพนักงาน
 ฝ่ายซ่อมบำรุง วางแผนการซ่อมบำรุง สั่งซื้ออะไหล่ และวัสดุสิ้นเปลือง
 ฝ่ายยานพาหนะ วางแผนงานการใช้งาน การหมุนเวียน การสั่งซื้อรถ
 ฝ่ายจัดส่ง/คลังสินค้า วางแผนงานการจัดส่ง การหมุนเวียนสินค้าในคลัง
 ฝ่ายผลิต วางแผนงานการผลิต บริหารวัตถุดิบ
GPS & Navigation

2 ความคิดเห็น:

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม